ประวัติของจังหวัดสุรินทร์

Home..!

           สุรินทร เป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานจังหวัดหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอนว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร อาศัยเพียงข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์นักโบราณคดีตลอดคำบอกเล่าของผู้สูงอายุที่เล่าต่อ ๆ กันมา โดยเชื่อกันว่าเมืองสุรินทร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2000 ปีล่างหน้ามาแล้ว ในสมัยพวกขอมมีอำนาจอยู่ในบริเวณนี้   เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเมืองสุรินร์ ได้ถูกทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าดงอยู่นานจนกระทั่งถึงพ.ศ. 2306 จึงปรากฏหลักฐานว่า หลวสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากเมืองทีมาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพง ค่ายคูล้อมรอบ 2     ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านคูประทายให้เป็นเมืองประทายสมันต์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดี เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวางให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง

    ปี  พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโดลกมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมือง ประทายสมันต์เป็น "เมืองสุรินทร์" ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง

    สุรินทร์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ 457 กิโลเมตร และทางรถไฟ 420 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ทางรถยนต์ 194 กิโลเมตร ทางรถไฟ 170 กิโลเมตร

        อาณาเขตติดต่อ

     ทิศเหนือ                        ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม

     ทิศตะวันออก                ติดต่อกับจังหวัดศรีษะเกษ

     ทิศใต้                             ติดต่อกับประเทศกัมพูชา

     ทิศตะวันตก                   ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์

          จังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่   8,124  ตารางกิโลเมตร   แบ่งเขตการปกครองเป็น  13   อำเภอ

ประวัติของแต่ละอำเภอ

Go...

อำเภอปราสาท

มากมีปราสาท

"วิสัยทัศน์ของอำเภอ"

   ทุกข์กายหาหมอ      ทุกข์ใจหานายอำเภอ

"ประวัติความเป็นมา"

    อำเภอปราสาทเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 13 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอของจังหวัดสุรินทร์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2480 มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 908.386 ตร.กม. จัดเป็นอำเภออันดับสองรองจากอำเภอเมืองสุรินทร์ ตั้งแต่ ก่อตั้งและเปิดทำการจนถึงปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอทั้งสิ้น 17  คน นายอำเภอคนปัจจุบัน คือ นายทวีศักดิ์  คิดบรรจง

"คำขวัญของอำเภอ"

ปราสาทเด่น สง่า      ประชาสามัคคี

กีฬาลือเลื่อง               รุ่งเรืองวัฒนธรรม

"สถานที่ท่องเที่ยว"

    ปราสาทบ้านพลวง,      ปราสาทบ้านปราสาท,       ปราสาทบ้านทนง

"ผลผลิตที่มีชื่อเสียง"

    ผ้าใหม,    ข้าวหอมมะลิ,    หัตถกรรม


สังขะ

"วิสัยทัศน์ของอำเภอ"

  การบริการของรัฐ ให้ทุกส่วนราชการให้การบริการประชาชน

   ปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน

   ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพอาชีพของราษฏร

ส่งเสริมให้ราษฏรมีการศึกษาที่สูงขึ้น

   ภาครัฐและเอกชนร่วมมือในการพัฒนาอำเภอ

"ประวัติความเป็นมา"

    ประมาณปี พ.ศ. 2303 ช้างเผือกของพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยาพลัดหายมาทางอีสาน จึงโปรดเกล้าให้สองพี่พระยาสองพี่น้อง ยกขบวนมาทางพิมาย บานเมืองที จนถึงป่าดงยาง เชียวฆะได้นำจับช้างเผือกได้ ต่อมาเชียงฆะ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสังฆะบุรีศรีนครอัจจะตำแหน่งเจ้าเมืองสังขะต่อมาปี พ.ศ. 2450 ได้ยุบเมืองสังขะเป็นอำเภอ ขึ้น ตรงต่อจังหวัดสุรินทร์ เรียกอำเภอสังขะ มาจนถึงปัจจุบัน

    "คำขวัญของอำเภอ"

    สังขะเมืองสะอาด   ปราสาทงดงาม

      ทับทิมสยามศูนย์สี่     เขียวขจีป่าสน

    "สถานที่ท่องเที่ยว"

    ปราสาทภูมิโปน,    ปราสาทยายเหงา,    ปราสาทเหมือนชัย,    เขตอนุรักษ์สนสองใบ

"ผลผลิตที่มีชื่อเสียง"

    ข้าวหอมมะลิ


อำเภอศรีขรภูมิ

   "วิสัยทัศน์ของอำเภอ"

    ร่วมความคิด         จิตมุ่งมั่น            สรรค์สร้างศีขรภูมิ

     "ประวัติความเป็นมา"

        เมื่อครั้งเชียงปุมเป็นเจ้าเมืองสุรินทร์เชียงชัยเป็นเจ้าเมืองศรีขรภูมิพิสัย ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านจารพัต ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อพ.ศ. 2412 กระทั่ง พ.ศ. 2480 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลระแงงจนตราบปัจจุบัน

    "คำขวัญของอำเภอ"

    ปราสาทหินศักดิ์สิทธิ์             มัสยิดน่าชม             ดินดีอุดมสาบูรณ์

      พูนสุขประชา                 อุตสาหกรรมนำพา          แหล่งธัญญาสำคัญ

    "สถานที่ท่องเที่ยว"

    ประสาทหินศีขรภูมิ,    อ่างเก็บน้ำห้วยลำพอก,    สระสี่เหลี่ยม


            อำเภอจอมพระ

    ประวัติความเป็นมา

                อำเภอจอมพระ เดิมเป็นตำบลหนึ่ง ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอท่าตูม   จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาได้ยกฐานะตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2502 โดยใช้ชื่อของตำบลเดิม คือ "จอมพระ" ตั้งเป็นชื่อของกิ่งอำเภอ เรียกว่า "กิ่งอำเภอจอมพระ"ต่อมาเมื่อวันที่   27 กรกฏาคม 2508 ได้มีพระราชฏีกา ให้ยกฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า "อำเภอจอมพระ" เกี่ยวกับการเรียกชื่อของ "จอมพระ" นี้ ไม่สามารถค้นหาหลักฐานอ้างอิงได้แน่นอน เป็นแต่เพียงตำนานของชาวบ้านได้เล่าขานสืบต่อมา ย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 329 ปีเศษ มีชนเผ่าหนึ่งขนานามตนเองว่า "ส่วย" ได้อพยพมาจาเมืองอัดปือแสนแปในแคว้นนครจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในแถบอำเภอจอมพระ บ้านจอมพระในปัจจุบันและ ณ ที่แห่งนี้ ได้พบปราสาทหินศิลาแลงมี พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายในปราสาทหิน เมื่อได้พบสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาเช่นนี้ ชาวบ้านจึงได้ขนานามชื่อหมู่บ้าน"จอมพระ"   ปราสาทหินดังกล่าวปัจจุบันถือว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอจอมพระ ในบริเวณดังกล่าว มีสำนักสงฆ์ตั้งอยู่เรียกว่า "วัดป่าจอมพระ"

สถานที่โบราณ

วัดป่าจอมพระ


อำเภอสำโรงทาบ

"วิสัยทัศน์ของอำเภอ"

    อำเภอเป็นกลางประสานการบริการ การบริหารการจัดการและการพัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมในเชิง

ปฏิบัติของทุกฝ่ายรวมทั้งการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์องค์การและสิ่งแวดล้อมให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้านอย่างต่อเนื่องและบังเกิดผลอย่างแท้จริง

"ประวัติความเป็นมา"

    อำเภอสำโรงทาบ นามนี้ตั้งขึ้นตามชื่อต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งว่า "สำโรงเตี้ยบ" เดิมเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2501 ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2502 ถึงปัจจุบัน อาคารที่ว่าการอำเภอขนดมาตรฐาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไผ้ล้อม

"สถานที่ท่องเที่ยว"

    อ่างเก็บน้ำเกาะแก้ว,   อ่างบ้านกะเลา,    ฝายน้ำล้นบ้านป่าเวย


   อำเภอกาบเชิง

   "วิสัยทัศน์ของอำเภอ"

        1. สงเสริมค่านิยมในการสร้างภาพลักษณืที่ดี โดยการปลูกฝังจิตสำนึกในการให้บริการ "ผู้ปกครอง" เป็น "ผู้ให้บริการ"และ"ผู้ประสานงาน"   โดยมุ่งความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

            2. ปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นผลสำเร็จของงานและผลสัมฤทธิ์เป็นหลักมากกว่าระเบียบแบบแผน วิธีการ

           3.   ใช้แผนเป็นเครื่องมือในการประสานงานและเป็นกรอบในการปฏิบัติงานทุกระดับและใช้ผลการศึกษา

วิจัยเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผน

    "ประวัติความเป็นมา"

    บ้านกาบเชิงมีการตั้งถิ่นฐานมากกว่า 200 ปีมาแล้ว เดิมขึ้นการปกครองกับ ต.ด่าน อ.สังขะ พ.ศ. 2480 โอนไปขึ้นการปกครองกับ ต.หนองใหญ่ และพ.ศ. 2506 โอนมาอยู่ในการปกครองของ ต. กาบเชิง และ พ.ศ. 2514 ได้แยก ต.กาบเชิง ต.ปักได ตั้งเป็นกิ่ง อ.กาบเชิง พ.ศ. 2519 เพิ่ม ต. ดคกกล่างอีก 1 ตำบล และ 1 ก.ค. 2520 รับโอน ต. คูตัน และต.ด่าน จาก อ.สังขะ แยะยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2522 จนถึงปัจจุบัน

"คำขวัญของอำเภอ"

    กาบเชิงถิ่นคนดี          เฉลิมราชกุมารีศรีสง่า

    ปราสาทธรรมชาติล้ำค่า     แหล่งการค้าช่องจอม

"สถานที่ท่องเที่ยว"

     อ่างเก็บน้ำเขื่อนตาเกาว์ ต. กาบเชิง

                       


อำเภอชุมพลบุรี

    "ประวัติความเป็นมา"

    ตั้งอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2437 ยุบเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ 22 ก.พ. 2480 และยกฐานะเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง เมื่อ 20 ก.พ. 2496   จนถึงปัจจุบันเป็นอำเภอชั้น 2 พิกัด UB 274975 ลักษณะที่ตั้งอยู่ห่างจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดสุรินทร์ 94 กิโลเมตร ห่างจาก กทม. ระยะทางประมาณ 551 กิโลเมตร

"คำขวัญของอำเภอ"

    ชุมพลบุรี         เขตทุ่งกุลา

    เมืองปลาไหล     ผ้าไหมสวย

    รวยข้าวมะลิหอม     พร้อมลำน้ำมูล

    ผลผลิต

    ข้าวหอมมะลิ ,  มะม่วง,  มะพร้าว,  มะละกอ,   ข้าวโพด

   


    "อำเภอบัวเชด"

    "วิสัยทัศน์ของอำเภอ "

            อำเภอบัวเชด เดิมเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในเขตการปกครองท้องที่ ของ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ กระทั่งวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2521 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศแบ่งท้องที่อำเภอสังขะ แยก 3 ตำบล ออกเป็นกิ่งอำเภอบัวเชด คือ ตำบลบัวเชด ตำบลสะเดา และตำบลจรัส รวม 32 หมู่บ้าน ตั้งที่ทำการชั่วคราวที่บ้านตาปิม ตำบลบัวเชดจนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ. 2527 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ และย้ายมาตั้งที่การอำเภอ ณ บ้านหมื่นสังข์ ตำบลบัวเชด จนถึงปัจจุบัน แบ่งเขตการปกครองเป็น 6 ตำบล 62 หมู่บ้าน

"คำขวัญของอำเภอ"

    บัวเชตเขตชายแดน         ทิวทัศน์แสนสวย

    รวยธรรมชาติ                     ปราสาทค่าล้ำ

    งามถ้ำผาไทร                     ประทับใจเขาศาลา

"สถานที่ท่องเที่ยว"

    ปราสาทตามอญ,    เขาศาลา,    ถ้ำผาไทร


กิ่งอำเภอพนมดงรัก

"วิสัยทัศน์ของอำเภอ"

      เป้าหมายของอำเภออยู่ที่ " ประชาชนมีความสุข และชีวิตมีคุณภาพ กล่าวคือ การถึงพร้อมด้วยการพัฒนา การให้บริการสาธารณะ และป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายใน ตลอดจนการอำนวยความยุติธรรม ด้วยการอำนวยการและประสานงานระหว่างองค์กรต่างๆ และการบริการงานที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เป็นที่ประทับใจประชาชน"

"ประวัติความเป็นมา"

    อำเภอพนมดงรัก จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาไทย ฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 โดยแบ่งเขตการปกครองออกจากอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2538 เป็นต้นไป โดยมีนายสันติชัย คงเถลิงศิริวัฒนา   ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำอำเภอ    คนแรก

    "คำขวัญของอำเภอ"

    ปราสาทเก่า ทิวเขางาม อ่างน้ำใส ใฝ่วัฒนธรรม

    "สถานที่ท่องเที่ยว"

    ปราสาทบ้านตาเหมือน ,    ปราสาทตาวาย,    วัดป่าเขาโต๊ะ


กิ่งอำเภอโนนนารายณ์

    กิ่งอำเภอโนนนารายณ์แยกตัวออกมาจากอำเภอรัตนบุรีโดยลักษณะของพื้นที่ เมื่อแยกออกมาแล้วมีรูปร่างลักษณะคล้ายรวงผึ้ง

                ทิศเหนือ   จด อำเภอ รัตนบุรี

                ทิศตะวันออก จด กิ่งอำเภอศรีสุวรรณ จ. ศรีสะเกษและอำเภอสำโรงทาบบางส่วน

            ทิศใต้     จด อำเภอสำโรงทาบ และอำเภอศรีขรภูมิ

                ทิศตะวันตก     จด อำเภอสนม

  " สถานที่โบราณของกิ่งอำเภอโนนนารายณ์"

        ปราสาทวัดสังฆนารามบ้านขุมดิน   เป็นปราสาทรูปเจดีย์ ใช้หินคล้ายหินกรวดทับต่อกันขึ้นมีห้องมีทางเข้า ปากทางเข้าจะมี ทับหลังนารายณ์ เหมือนกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ประมาณอายุ 800 ปี

     "ศิลปหัตถกรรมและช่างท้องถิ่น ในด้านปติมากรรมเป็นชิ้นงานโลหะที่มีลักษณะของตนเองของคนกิ่งอำเภอโนนนารายณ์ ไม่มี ส่วนหัตถกรรมจะเป็นเครื่องจักสาน เป็นส่วนใหญ่

   


กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์

    ประวัติความเป็นมา

    กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์เดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองสุรินทร์ ต่อมาสภาตำบลเขวาสินรินทร์ สภาตำบลปราสาททอง สภาตำบลตากูก และสภาตำบลบ้านแร่ ได้ขอแยกเขตการปกครองออกจากอำเภอเมือง จัดตั้งกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2539 เป็นต้นมา โดยมีนายนิวัฒน์ ศรีบุญนาค ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์คนแรก

"คำขวัญของอำเภอ"

    ผ้าไหมงาม อร่ามเครื่องเงิน เขวาสินริทร์

"สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่โบราณ"

    ปราสาทบ้านแสรอย ตำบลปราสาท

    วัดปราสาทแก้ว

"ผลผลิตที่มีชื่อเสียง"

    เครื่องเงิน,   ผ้าใหม,   ข้าวหอมมะลิ


กิ่งอำเภอศรีณรงค

"ประวัติความเป็นมา"

    กิ่งอำเภอศรีณรงค์ ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538 เป็นกิ่งอำเภอหนึ่งในจำนวน 4 กิ่งอำเภอของจังหวัดสุรินทร์ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสุรินทร์ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ 65 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 487 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 410 ตารางกิโลเมตร หรือ 305,907 ไร่

"คำขวัญของอำเภอ"

    ศรีณรงค์นามองค์เจ้าเมือง ถิ่นรุ่งเรืองไทยส่วน ลำห้วยสองสาย ยิ่งใหญ่ร่วมมิตร พืชเศรษฐกิจยางพารา

"สถานที่ท่องเที่ยว/สถานโบราณ"

ไม่มี

"ผลผลิตที่มีชื่อเสียง"

    ข้าวหอมมะลิ  ,   ปอแก้ว , มันสำปะหลัง ,  มะพร้าว, มะม่วง